Fip ย่อมาจาก Feline infectious peritonitis แปลเป็นไทยคือ โรคติดเชื้อเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบในแมว เกิดจากไวรัสที่เรียกว่า coronavirus เชื้อนี้มีในแมวถึง 95 % ในแมว 100 ตัว มีอยู่ทั่วไปทุกมุมโลกไม่เพียงส่งผลกระทบต่อแมวเท่านั้น ยังรวมไปถึงคนป่า สิงโต และเสือชีตาห์
แต่ไวรัส coronavirus เป็น Avirulent หมายความว่าไม่ก่อให้เกิดโรค แมวที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ถ้าแมวตัวไหนภูมิคุ้มกันต่ำ หรือความเครียดเชื้อนี้ก็จะถูกพัฒนาเป็น FIP ขึ้นอยู่กับแอนติบอดี้ไวรัสของแมวตัวนั้นๆ มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เป็นโรคที่ร้ายแรงและรักษาไม่หาย
โรค Fip มี 2 ชนิด
Effusive (wet) แบบเปียก
Non Effusive (dry) แบบแห้ง
อาการระยะแรกคือ ซึม ไม่ค่อยกินอาหาร ท้องเสีย อึเหลว หรือมีน้ำมูก มีไข้ อาการมันเหมือนกับหลายโรค ต้องค่อยๆ ดูไป ต้องรักษาตามอาการเพราะบางทีอาจไม่ใช่ fip ก็ได้ แต่ถ้าแมวเครียด หรือตัวเค้าเองไม่สามารถสร้างภูมิกันขึ้นเองได้ ทีน่าสังเกตส่วนใหญ่จะเป็นกับแมวเด็กตั้งแต่ 5 สัปดาห์ หรือแมวชรา 11 ปีขึ้นไป โรคจะเริ่มต้นหลังจาก 1 เดือนซึ่งภูมิคุ้มกันของแม่เริ่มจาง ถ้าตัวไหนได้รับน้ำนมน้อย ภูมิต่ำโรคก็จะเข้าแทรกซ้อนทันที ส่วนจะพัฒนาเป็น FIP แบบแห้งหรือเปียกเดี๋ยวค่อยมาดูกัน
เริ่มจากแบบเปียกก่อน สังเกตง่ายๆ คือ ท้องเสีย ท้องจะค่อยๆป่อง เหงือก ใบหู จมูกซีด บริเวณขอบตา สีลูกนัยน์ตาจางลง คล้ายโลหิตจาง ท้องป่องเนื่องจากของเหลวจะสะสมในช่องท้องหรือหน้าอก จะเป็นน้ำสีเหลืองข้นเหนียว ทำให้หายใจลำบาก ความร่าเริงหายไป เคลื่อนไหวช้าลง ไม่กินอาหาร สันหลังจะโปนออกมา ท้องป่องมากขึ้น และตายในที่สุด ภายในเวลา ถ้าเป็นในลูกแมว 2-3 เดือน ก็เสียชีวิต ถ้าระยะเห็นกระดูกสันหลังจะไปไม่เกิน 2-3 อาทิตย์
ส่วนแบบแห้งสังเกตยากกว่า มีไข้ กินอาหารน้อยลง น้ำหนักลด ผอมลง ซึม ขนหยาบ ซีดทั้งเหงือก ใบหู และตา อาจมีอาการทางประสาทส่วนกลางเสียสมดุล สับสน อัมพาต ชัก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปอด ตับ ไตและลำไส้ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ตาซีดจาง อาจอยู่ได้ถึง 1 ปี
วิธีรักษา
รักษาตามอาการอย่างที่บอก ท้องเสียก็กินยาแก้ท้องเสีย มีน้ำมูกกินยาลดน้ำมูก มีน้ำในช่องท้องก็ต้องเจาะ หรือกินยาขับ ลดไข้ก็ให้น้ำเกลือ ก็แล้วแต่ว่าใคร สามารถดูแลเค้าได้แค่ไหน พอมาถึงช่วงนี้ที่เจาะท้องเพื่อขับน้ำหรือกินยาขับน้ำแต่ก็เอาน้ำออกได้น้อยมาก ถ้าเป็นคนก็เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ก็ได้แค่รอวันนั้นมาถึงเพราะไม่มีทางรักษา มีวัคซีนแล้วแต่ไม่ 100% และมีผลข้างเคียง
คำแนะนำ
เมื่อเริ่มมีอาการ ซึม อึเหลว มีน้ำมูกต้องแยกจากแมวตัวอื่นเด็ดขาด ถ้าหมอบอกให้กินยาต่อเนื่อง 7 วัน ขอให้กินให้ครบด้วยแม้ว่าเค้าจะหายแล้วก็ตาม ช่วยดูแลกันด้วย ทำความสะอาดที่อยู่ของเค้าให้ดี ถ้วย ชาม กระบะ กรง โรคนี้ฆ่าเชื้อด้วยไฮเตอร์น้ำยาซักผักขาว หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเฮกซีดีน ตากแดดนานเลย ทำซ้ำซัก 3 เที่ยว โรคนี้อยู่นาน และถ่ายทอดด้วยอึมะขามคลุกนั่นแหล่ะ ถ้าแมวไปเหยีบอึตัวที่เป็นโรคแล้วมาแต่งตัวเลียเท้าเข้าปากลงกระเพาะพอดีติดเชื้อไปด้วยกัน พอเป็นแล้วสามารถติดโดยสารคัดหลั่งทั้งหลาย ชามน้ำ ชามอาหาร กรง กระบะ น้ำลาย น้ำมูก
โรคนี้ติดตัวแมวมาตั้งแต่เกิด เกิดมาก็มีเชื้อนี้อยู่แล้ว มันอยู่ที่ความเครียด เช่น ย้ายบ้าน หรือภูมิคุ้มกันต่ำ ขึ้นอยู่กับว่าตัวไหนแจ๊คพอต ที่สำคัญอย่าปล่อยให้แมวท้องเสียเรื้อรัง พยายามหยุดท้องเสียให้เร็วที่สุด
ขอให้แมวในโลกนี้ปลอดภัยนะคะ
ข้อมูลรวบรวมจากหลายๆ ที่มาประกอบกัน
เราก็ไม่อยากให้เค้าทรมาน มีฉีดยาให้น้องจากไปด้วยเหรอคะ แมวเราไม่น่าจะเป็น กินอาหารเก่ง ปกติแยกไม่ออกว่าปางยหรือขี้เกียจ
fip ทั้งแบบเปียกและแห้ง หายได้นะครับ ถ้ารักษาได้ทันและถูกวิธีการ ถ้าน้องอาการหนักมากมันก็ยากที่จะดีขึ้นหรือช้าเกินไป
ดูเคสของเรา fip แมวแบบเปียกหรือแห้ง ได้ที่นี่ครับ
http://www.betaglucan-maho.com/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%99/fip-%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b8%a7-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87/
เป็นแล้วตาย ไม่มีทางรักษา ไม่มีทางป้องกัน เพราะวัคซีนไม่ได้ผล 70% ในทางการแพทย์ถือว่า ไม่ได้ผลเลย ถ้าซื้อแมวต้องทำใจ เราไม่สามารถมองเห็นเชื้อโรคได้ เป็นเมื่อไหร่ ฉีดยาให้เค้าหลับไปเลย ส่วนใหญ่จะ ทรมาณ
แมวเรานิสัยเครียดหวาดระแวงเมื่อไม่นานมานี้ เป็นเลย