สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พระราชพิธีเฉลิมราชมณเฑียร

พระราชพิธีเฉลิมราชมณเฑียร

มีพระราชพิธีเฉลิมราชมณเฑียรหรือ พิธีขึ้นบ้านใหม่ ที่ในหนึ่งรัชกาลจะจัดขึ้นเพียงครั้งเดียว 


นับเป็นโบราณราชประเพณีในโอกาสที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เลือกแมววิเชียรมาศ

ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เลือกแมวโคราช

นำความบางตอนมาจาก 
“เขียนถึงสมเด็จฯ” ตอน นางแก้วคู่บารมี

โดยหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี


 ม.ร.ว.กิติวัฒนาเล่าว่าตอนนั้นในครอบครัวของดิฉันมีแต่ความตื่นเต้น เพราะตัวดิฉันได้รับการคัดเลือก

จากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ให้ #อุ้มวิฬาร์หรือแมวในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

จึงต้องมีการฝึกซ้อมแมวสีสวาดไว้หลายตัว เพื่อที่เราจะได้ดูว่า พฤติกรรมของแมวตัวใดที่จะเหมาะสมที่สุด

แต่แล้วทางสำนักพระราชวังก็ส่งแมวตัวอ้วนใหญ่ท่าทางดุดันมาให้หนึ่งตัว ซึ่งอย่าว่าแต่จะอุ้มเลย

แค่ดิฉันพยายามจะแตะต้องตัวก็ทำท่าไม่พอใจเสียแล้ว” หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาเล่าเรื่องราวความประทับใจ

ในอดีตอย่างอารมณ์ดี ต้องเตรียมแมวสีสวาดที่จะต้องอุ้มในวันพระราชพิธีมาเลี้ยงไว้ที่บ้านเพื่อทำคุ้นเคยนานนับเดือน

สมัยรัชกาลที่ 1 ในวันงานยังแต่งด้วยเครื่องทองโบราณ #วิฬารสวมอุบะเพชรซีกโบราณ สร้อยทองโบราณและกำไล

#ความหมายของแมวถือกันว่าให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ในริ้วขบวนยังมีสัตว์อีกหนึ่งชนิดคือ

ไก่ขาว ซึ่งถือเคล็ดกันว่าต้องเป็นของคู่กันกับหญิงรูปงาม ตามคำกล่าวที่ว่า หญิงงามอุ้มไก่ขาว ถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์
เครื่องเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค (และเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางอย่าง) เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรนั้นมี


1. ไก่แจ้ขาว


2. ธารพระกรศักดิ์สิทธิ์ หรือที่มีผู้เรียกอย่างสามัญว่า ไม้เท้าผีสิง ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
สองอย่างนี้ผู้เชิญคนเดียว อุ้มไก่ขาวและเชิญธารพระกรด้วย ตามความหมายของเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรนั้นว่า

ไก่แจ้ขาวและธารพระกร หมายถึงความงามความมีอำนาจสองสิ่งนี้ มักให้สตรีรูปงามอุ้มและเชิญ

3. ศิลาบด หมายถึงความหนักแน่น


4. กุญแจทองหมายถึงให้ความยกย่องและต้อนรับสู่บ้านใหม่


5. พานพืชมงคล หมายถึงการงอกเงย


6. จั่นหมากทอง หมายถึงความอุดมสมบูรณ์มีทรัพย์สมบัติมากมาย


7. ฟักเขียว หมายถึงอยู่เย็นเป็นสุข เพราะฟักเป็นผลไม้เนื้อเย็น


8. วิฬาร์ (แมว) แมวนั้นว่าเป็นสัตว์รู้อยู่ ไม่ทิ้งถิ่น หมายถึงการอยู่บ้านใหม่เป็นปกติสุขไม่โยกย้าย

เฉพาะเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรนี้ แต่โบราณมา ท่านกำหนดให้เฉพาะนางเชื้อพระวงศ์เป็นผู้เชิญ
รัชกาลที่ ๒ ๓ และ ๔ ในจดหมายเหตุจดไว้แต่ว่า “นางเชื้อพระวงศ์เชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร”

ตามเสด็จพระราชดำเนิน ทว่ามิได้มีรายพระนาม
ในรัชกาลที่ ๕ ผู้เชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรยังมีองค์อยู่บ้าง

จึงมีพระนามอยู่ในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๕ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ปรากฏว่า นางเชื้อพระวงศ์ เชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรในรัชกาลที่ ๕ ล้วนเป็นหม่อมเจ้า พระราชนัดดา

ในรัชกาลที่ ๓ คือ
หม่อมเจ้าปิ๋วในกรมหมื่นภูมินทรภักดี ๑ (ต่อมามีพระเกียรติยศเป็น พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์)
หม่อมเจ้าสารภีในกรมหมื่นภูมินทรภักดี ๑
หม่อมเจ้ามณฑา ในกรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล ๑
หม่อมเจ้าภคินี ในกรมหมื่นอักษรสาส์นโสภณ ๑ (ต่อมาเลื่อนเป็นกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
หม่อมเจ้าวิลัยวรในพระองค์เจ้าเปียก ๑
หม่อมเจ้าประยง ในพระองค์เจ้าลำยอง ๑
ในครั้งกระโน้นยังไม่มีนามสกุล หากเป็นหม่อมเจ้าพระโอรสธิดา

เพื่อทราบว่าทรงเป็นใครจะใช้ว่าหม่อมเจ้าชาย...ใน...หรือหม่อมเจ้าหญิง...ใน..(พระนามของพระบิดาของท่าน)
หากหม่อมเจ้าหญิง เป็นชายาของเจ้านาย ก็จะกำหนดลงไปว่าเป็นชายาเช่นหม่อมเจ้า...ชายาใน...
หากเป็นหญิงสามัญ ภรรยาเจ้านายทางราชการใช้ชื่อเฉยๆ เช่น ผ่อง ในกรมหมื่น...มาลัยในกรมหลวง...เป็นต้น
ผู้เชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ในรัชกาลที่ ๖ จดหมายเหตุจดไว้แต่เพียงว่า
“มีนางเชื้อพระวงศ์เชิญพระแสง เชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรแลเชิญเครื่องราชูปโภคตามเสด็จ”
บรรยายแต่นามบรรดาศักดิ์ ของข้าราชการและมหาดเล็กฝ่ายหน้าที่เชิญเครื่องบรมราชาภิเษกตามเสด็จอย่างละเอียดลออ
ถึงรัชกาลที่ ๗ พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โปรดให้หม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ และ ๕

เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด ๑๖ องค์ ตามในภาพ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนกลาง

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงยืนเบื้องขวาพระองค์

แวดล้อมด้วยพระราชนัดดา ในรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร

และเครื่องราชูปโภคแถวหน้าจากซ้ายไปขวา


๑. หม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญศิลาบด


๒. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญพระแสงดาบฝักทองเกลี้ยง


(๓) - (๔) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี


๕. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญพระแสงขรรค์องค์น้อย


๖. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ ทรงอุ้มไก่แจ้ขาว และเชิญทานพระกรศักดิ์สิทธิ์


๗. หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ ทรงอุ้มวิฬาร์


๘. หม่อมเจ้าแขไขจรัสศรี เทวกุล พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ เชิญพานพระกล้อง

แถวหลังจากซ้ายไปขวา


๑. หม่อมเจ้าพัฒนคณนา กิติยากร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญพานพืช


๒. หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญจั่นหมากทอง

(ทรงเป็นนักเขียน นามปากกา 'ดวงดาว' มักเรียกกันว่า ท่านหญิงดวงดาว)


๓. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสมสมัย พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕

ทรงอุ้มไก่ขาวและเชิญพระแส้หางช้างเผือก


๔. หม่อมเจ้าพรรณเพ็ญแข เพ็ญพัฒน์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญพานฟัก


๕. หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญกุญแจทอง


๖. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ เชิญพระสุพรรณศรี


๗. หม่อมเจ้ารัสสาทิศ สวัสดิวัฒน์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ เชิญพานธูปเทียน


๘. หม่อมเจ้าพวงรัตนประไพ เทวกุล พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ เชิญพานพระรัตนกรัณฑ์


๙. หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ เชิญพานพระศรี


๑๐. หม่อมเจ้าผุสดีวิลาส สวัสดิวัฒน์ พระราชนัดดา ในรัชกาลที่ ๔ เชิญพานดอกไม้
เห็นรายพระนามผู้อัญเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗

ขอนำรายพระนามผู้ที่ทำหน้าที่อัญเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรในรัชกาลที่ 9


ผู้ที่ทำหน้าที่ นำเทียน มี ๒ พระองค์ คือ
๑)

หม่อมราชวงศ์ประศาสน์ศรี ดิศกุล
๒) หม่อมราชวงศ์ปรียา โสณกุล
หลังจากผู้นำเทียน ๒ พระองค์แล้ว

คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

ซึ่งทรงอัญเชิญดอกพิกุลเงินและพิกุลทอง สำหรับพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรยรายทางเสด็จฯ
ต่อจากนั้นเป็นริ้วขบวนอัญเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ดังนี้
๓) พระแสงฝักทองเกลี้ยง หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล


๔) พระแสงขรรค์เพชร รัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าเฟื่องฉัตร ฉัตรชัย


๕) พระแส้หางช้างเผือก หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย


๖) ธารพระกรศักดิ์สิทธิ์และไก่ขาว หม่อมราชวงศ์บุษบา กิติยากร(ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงษ์)


๗) ศิลาบดโมรา หม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต


๘) พานพืช หม่อมราชวงศ์ทิพาวดี เกษมสันต์


๙) กุญแจทอง หม่อมราชวงศ์ทรงสุวรรณ ทองแถม


๑๐) จั่นหมากทอง หม่อมราชวงศ์กรองทอง ทองใหญ่


๑๑) อุ้มวิฬาร์ (แมว) หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์(ปกมนตรี)


๑๒) พานฟัก หม่อมราชวงศ์ดวงใจ จิตรพงศ์
ผู้เชิญเครื่องราชูปโภค ดังนี้


๑๓) พระสุพรรณศรี หม่อมราชวงศ์วิมลโพยม สวัสดิวัฒน์


๑๔) พานพระศรี หม่อมราชวงศ์พวงแก้ว ชุมพล


๑๕) พานพระโอสถ หม่อมราชวงศ์นิสารัตน์ เทวกุล


๑๖) พานพระมาลา หม่อมราชวงศ์ลภาพรรณ วรวรรณ
ผู้เข้าร่วมริ้วขบวนเสด็จฯ จะยืนเข้าแถวเป็นคู่ ๆ โดยตั้งริ้วขบวนที่ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
หม่อมหลวงศรีฟ้า (ลดาวัลย์) มหาวรรณ เจ้าของนามปากกา จุลลดา ภักดีภูมินทร์

ผู้เขียนบทความเรื่องเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร คอลัมน์เวียงวัง ในนิตยสารสกุลไทย

สิ่งของเหล่านี้จึงถือเป็นของมงคลในวันขึ้นบ้านใหม่หรือแต่งงานของคนไทยจนถึงทุกวันนี้


ขอบคุณ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย
ที่รวบรวมคลิปได้งดงาม คลิปที่ตามหามานาน

ในดวงใจนิรันดร์ ตอน "พระมิ่งขวัญคู่แผ่นดินในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร"


https://www.facebook.com/mchannelthailand/videos/1487507727951364/

ขอบคุณข้อมูล :
ชมรมประวัติศาสตร์สยาม


ขอบคุณ กรมธนารักษ์ http://emuseum.treasury.go.th/home.html

ขอบคุณ โพสต์ทูเดย์ https://www.posttoday.com/ent/news/26471

Tags : พระราชพิธีเฉลิมราชมณเฑียร

view