พระราชพิธีเฉลิมราชมณเฑียร
มีพระราชพิธีเฉลิมราชมณเฑียรหรือ พิธีขึ้นบ้านใหม่ ที่ในหนึ่งรัชกาลจะจัดขึ้นเพียงครั้งเดียว
นับเป็นโบราณราชประเพณีในโอกาสที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เลือกแมววิเชียรมาศ
ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เลือกแมวโคราช
นำความบางตอนมาจาก “เขียนถึงสมเด็จฯ” ตอน นางแก้วคู่บารมี
โดยหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี
ม.ร.ว.กิติวัฒนาเล่าว่าตอนนั้นในครอบครัวของดิฉันมีแต่ความตื่นเต้น เพราะตัวดิฉันได้รับการคัดเลือก
จากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ให้ #อุ้มวิฬาร์หรือแมวในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร
จึงต้องมีการฝึกซ้อมแมวสีสวาดไว้หลายตัว เพื่อที่เราจะได้ดูว่า พฤติกรรมของแมวตัวใดที่จะเหมาะสมที่สุด
แต่แล้วทางสำนักพระราชวังก็ส่งแมวตัวอ้วนใหญ่ท่าทางดุดันมาให้หนึ่งตัว ซึ่งอย่าว่าแต่จะอุ้มเลย
แค่ดิฉันพยายามจะแตะต้องตัวก็ทำท่าไม่พอใจเสียแล้ว” หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาเล่าเรื่องราวความประทับใจ
ในอดีตอย่างอารมณ์ดี ต้องเตรียมแมวสีสวาดที่จะต้องอุ้มในวันพระราชพิธีมาเลี้ยงไว้ที่บ้านเพื่อทำคุ้นเคยนานนับเดือน
สมัยรัชกาลที่ 1 ในวันงานยังแต่งด้วยเครื่องทองโบราณ #วิฬารสวมอุบะเพชรซีกโบราณ สร้อยทองโบราณและกำไล
#ความหมายของแมวถือกันว่าให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ในริ้วขบวนยังมีสัตว์อีกหนึ่งชนิดคือ
ไก่ขาว ซึ่งถือเคล็ดกันว่าต้องเป็นของคู่กันกับหญิงรูปงาม ตามคำกล่าวที่ว่า หญิงงามอุ้มไก่ขาว ถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์
เครื่องเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค (และเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางอย่าง) เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรนั้นมี
1. ไก่แจ้ขาว
2. ธารพระกรศักดิ์สิทธิ์ หรือที่มีผู้เรียกอย่างสามัญว่า ไม้เท้าผีสิง ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
สองอย่างนี้ผู้เชิญคนเดียว อุ้มไก่ขาวและเชิญธารพระกรด้วย ตามความหมายของเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรนั้นว่า
ไก่แจ้ขาวและธารพระกร หมายถึงความงามความมีอำนาจสองสิ่งนี้ มักให้สตรีรูปงามอุ้มและเชิญ
3. ศิลาบด หมายถึงความหนักแน่น
4. กุญแจทองหมายถึงให้ความยกย่องและต้อนรับสู่บ้านใหม่
5. พานพืชมงคล หมายถึงการงอกเงย
6. จั่นหมากทอง หมายถึงความอุดมสมบูรณ์มีทรัพย์สมบัติมากมาย